วันอังคาร, 3 ธันวาคม 2567

ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน ยาพิษ สุดฮิต เพียงแค่ปลายเล็บ ก็ตายได้

26 เม.ย. 2023
1018
ไซยาไนด์

ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน ยาพิษ สุดฮิต เพียงแค่ปลายเล็บ ก็ตายได้ อาการเหมือนขาดอากาศหายใจ

จากคดี น้องก้อยเสียชีวิต โดยเกิดอาการวูบ ขณะปล่อยปลา ซึ่งผลการตรวจหาสารพิษ อย่างไม่เป็นทางการจากโรงพยาบาลตำรวจ พบสารพิษในกลุ่ม “ไซยาไนด์” ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของน้องก้อย นอกจากนั้น ยังพบมีผู้เสียชีวิตคล้ายกันเกือบ 10 ราย

ไซยาไนด์ คืออะไร

ไซยาไนด์ (Cyanide) คือ สารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นกลุ่มของสารเคมี ที่มีไซยาไนด์ไอออน (CN-) เป็นองค์ประกอบ สารเคมีกลุ่มนี้มีความเป็นพิษสูงมาก มักพบในรูปของสารประกอบโลหะอัลคาไลด์ ที่เป็นของแข็งสีขาว และสารประกอบโลหะหนัก พบได้มากในพืช ในรูปของกรดไฮโดรไซยานิค สามารถวิเคราะห์หาได้ในรูปของไซยาไนด์ไอออน สามารถวิเคราะห์หาไซยาไนด์ได้โดยใช้วิธีการกลั่น (Distillation Measurement) เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ไซยาไนด์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

สารกลุ่ม “ไซยาไนด์” ที่ควรรู้จักมี 2 ตัว คือ ตัวหนึ่งเป็นของแข็ง เกลือไซยาไนด์ ซึ่งเป็นโซเดียมไซยาไนด์ หรือ โปรแตสเซียม ไซยาไนด์ ส่วนอีกตัว มีสถานะเป็นก๊าซ คือ ไฮโดรเจน ไซยาไนด์ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยา เมื่อเอากรด เช่น กรดเกลือ หรือกรดกำมะถัน ผสมกับเกลือไซยาไนด์ ประการสำคัญ คือ พิษต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นเกลือไซยาไนด์ หรือก๊าซ เป็นอันตรายถึงตายได้เหมือนกัน ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ จึงถูกใช้ในการประหารนักโทษระหว่างสงคราม

ฤทธิ์เดชของไซยาไนด์

ไซยาไนด์สามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ หากกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง จะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที แต่ถ้ามีอาหารอยู่เต็มกระเพาะแล้ว จะหน่วงเวลาเสียชีวิตเป็นหน่วยชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ไซยาไนด์จะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในกระเพาะอาหาร และออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าสูดไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าไป จะเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาที

ความเข้มข้นของไซยาไนด์ก็มีผลกับความเร็วมาก ถ้าจับคนล็อกไว้ในห้องก๊าซขนาด 1x1x1 เมตร แล้วปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าไปประมาณ 300 มิลลิกรัม จะเสียชีวิตในทันที แต่ถ้าปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์ 150 มิลลิกรัมเข้าไป จะมีเวลาอีกประมาณ 30 นาทีก่อนเสียชีวิต แต่ถ้าปล่อยก๊าซเข้าไปเพียง 20 มิลลิกรัม จะยังไม่เสียชีวิต เพียงแต่จะมีอาการผิดปกติเล็กน้อยหลังจากนั้น

ไซยาไนด์ อาการเป็นอย่างไร

ภาวะเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เป็นอาการที่พบได้ยาก เกิดขึ้นในทันที อาจทำให้เกิดอาการ เช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และหมดสติ เป็นต้น

ภาวะเป็นพิษแบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับไซยาไนด์ปริมาณเล็กน้อย ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น นอกจากนี้ หากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน อาจทำให้หัวใจเต้นช้า หรือเต้นผิดปกติ ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

ถ้ากินสารพิษนี้เข้าไป ต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด แล้วรีบล้างท้อง เพราะการออกฤทธิ์ของมันค่อนข้างเร็วมาก

ไซยาไนด์ จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535. บทลงโทษ ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ้างอิง https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/general-knowledge/547586