กรณีเพลิงไหม้ตึกอาคารบ้านพัก 3 ชั้น ก่อนพังถล่มลงมา เป็นเหตุให้ มีผู้เสียชีวิต 5 ราย เป็นผู้ที่อยู่ในบ้าน 1 ราย จนท.อาสากู้ภัยอีก 4 ราย และผู้บาดเจ็บอีกหลายราย โดยเหตุเกิดที่หมู่บ้านกฤษดานคร 31 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ
เมื่ออัคคีภัยเกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดกับโครงสร้างอาคาร สำนักงาน โรงงาน คลังสินค้าและที่อยู่อาศัย ซึ่งอาคารเหล่านั้นล้วนแต่มีโครงสร้างเป็นหลัก โครงสร้างอาคารส่วนใหญ่ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ โครงสร้างคอนกรีต โครงสร้างเหล็ก และโครงสร้างไม้ ปัจจุบันถ้าไม่ใช่อาคารสูง นิยมสร้างอาคารด้วยโครงสร้างเหล็ก ซึ่งก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ส่วนอายุการใช้งาน ต้องดูตามสภาพแวดล้อม และการดูแลรักษา
เมื่อเกิดอัคคีภัยแล้ว เกิดการเสียสภาพใช้งานของอาคาร โอกาสที่จะนำอาคารที่ผ่านการเกิดอัคคีภัยแล้วมาใช้งานต่อมีน้อยมาก ต้องทุบทิ้งแล้วสร้างขึ้นมาใหม่ วัสดุทุกชนิดอ่อนแอลงเมื่อได้รับความร้อน ทำให้เกิดการเสียกำลัง (Strength) เสียความแข็งแรง (Stiffness) เกิดแรงอัดจากการยึดรั้ง มีการโก่งจากการยึดรั้ง ความโค้งขององค์อาคารที่เพิ่มขึ้นจาก Thermal gradient ตลอดความลึก เสียความคงทน (Durability)
สาเหตุทำให้อาคารเสียแล้วเกิดถล่มลงมา คือ โครงสร้างที่เป็นเหล็กมีอุณหภูมิวิกฤติ จากความร้อนเท่ากับ 550 องศาเซลเซียส และเกิดการผิดรูปไป 60 % อันเนื่องมาจากความร้อน แล้วค่อยๆอ่อนแล้วพังลงอย่างช้าๆ อุณหภูมิเปลวไฟที่ประมาณ 1,200 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ ประมาณ 650 องศาเซลเซียส ก็เพียงพอที่จะทำให้โครงสร้างที่เป็นเหล็กนั้นเสียหายได้ ส่วนโครงสร้างคอนกรีต ซึ่งเป็นโครงสร้างที่นิยมใช้สร้างบ้าน สำนักงาน ตึกสำนักงาน ต่างๆ คอนกรีตเมื่อได้รับความร้อนมากว่า 300 องศาเซลเซียสขึ้นไป + ระยะเวลา ก็จะทำให้คุณสมบัติของคอนกรีตเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดการเสื่อมสภาพของ Hydrated parts (เนื้อคอนกรีตเสียสภาพการยึดเกาะและอ่อนแอ) เกิดการเสื่อมสภาพของมวลรวม เกิดความเค้นเป็นจุด เกิดการแตกร้าวขนาดเล็ก แต่ความเสียหายที่เกิดกับโครงสร้างอาคารที่เป็นคอนกรีต จะเกิดความเสียหาย หรือพังทลาย อย่างทันทีทันใด เป็นต้น เมื่อนักดับเพลิงทำการเข้าดับเพลิงต้องพิจารณา จุดต้นเพลิง รูปแบบอาคาร ประเภทอาคาร ระยะเวลาของการลุกไหม้ ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ โดยต้องพึ่งระลึกถึงความรุนแรงตามกลไกการวิบัติ
อัตราการทนไฟของวัสดุผนัง / ฝา
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและการจักการภัยพิบัติ