สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ประชาสัมพันธ์ระบบตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ หรือ ตัดแต้มใบขับขี่ เพื่อเสริมสร้างวินัยจราจร เป้าหมายเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 9 มกราคม 2566
สรุปเกณฑ์ “ตัดแต้มใบขับขี่” ใหม่ เริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 9 ม.ค. 2566 เป็นต้นไป
แบบที่ 1 “ตัดคะแนนทันทีที่ทำผิด”
ตัด 1 คะแนน
- ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ
- ไม่สวมหมวกนิรภัย
- ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย
- ขับรถเร็วเกินกำหนด
- ขับรถบนทางเท้า
- ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย
- ไม่หลบรถฉุกเฉิน
- ขับรถโดยประมาท น่าหวาดเสียว
- ขับรถไม่ติดป้ายทะเบียน หรือเปลี่ยนแปลง ปิดบัง
- ไม่ติดป้ายภาษี
ตัด 2 คะแนน
- ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร
- ขับรถย้อนศร
- ขับรถระหว่างโดนพักใช้ หรือเพิกถอนใบขับขี่
ตัด 3 คะแนน
- ขับรถในขณะหย่อนความสามารถ
- ขับรถผิดวิสัยคนขับรถธรรมดา
- ขับรถชนแล้วหนี
ตัด 4 คะแนน
- เมาแล้วขับ
- ขับรถในขณะเสพยาเสพติด
- แข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต
- ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น
แบบที่ 2 “ตัดคะแนนเมื่อไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่ง” ค้างชำระ 1 ใบสั่ง ตัด 1 คะแนน
- ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรในทาง
- จอดในที่ห้ามจอด
- ไม่แสดงใบอนุญาตขับขี่ขณะขับรถ
- ขับรถไม่ชิดซ้าย
คะแนนตั้งต้น
- 12 คะแนน
กรณีผู้ขับขี่ถูกตัดคะแนนจนเหลือ 0 คะแนน
- หากผู้ขับขี่ถูกตัดคะแนนจนเหลือ 0 คะแนน จะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ หรือห้ามขับรถทุกประเภทเป็นเวลา 90 วัน โดยมีหนังสือแจ้งคำสั่ง หากฝ่าฝืนขับรถในขณะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- หากถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เป็นครั้งที่ 3 ภายใน 3 ปี อาจถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่มากกว่า 90 วัน
- หากถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่อีกเป็นครั้งที่ 4 ต้องถูกพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ทันที
เกณฑ์การได้รับคะแนนคืน
- คะแนนที่ถูกตัดไปในแต่ละครั้ง จะได้รับคืนเมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันกระทำผิดครั้งนั้นๆ เว้นแต่เป็นกรณีที่ถูกตัดเหลือ 0 คะแนน จะได้รับคืนเมื่อพ้นกำหนดเวลาการสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แต่ได้รับเพียง 8 คะแนน
- หากขอเข้ารับการอบรมกับกรมการขนส่งทางบก เมื่อผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขจะได้รับคืนทั้งหมด 12 คะแนน
ช่องทางตรวจสอบคะแนนใบสั่ง
- เว็บไซต์ E-Ticket PTM >> https://ptm.police.go.th/eTicket/
- แอปพลิเคชันขับดี (KHUB DEE)
- สำหรับผู้ใช้งานมือถือระบบ Android >> Google Play Store
- สำหรับผู้ใช้งานมือถือระบบ iOS >> Apple App Store
ช่องทางชำระค่าปรับ
- แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ