วันอังคาร, 10 กันยายน 2567

พาไปดู 300 นโยบาย ของพรรคก้าวไกล

พาไปดู 300 นโยบาย ของพรรคก้าวไกล

พาไปดู 300 นโยบาย ของพรรคก้าวไกล

300 นโยบายก้าวไกล เปลี่ยนประเทศไทย เลือกตั้ง 2566 ก้าวไกล มี 300 นโยบายที่จะทำให้ประเทศไทยไม่เหมือนเดิม พรรคก้าวไกลจึงขอเสนอ 300 นโยบาย ที่พร้อมทำทันที

พาไปดู 300 นโยบาย ของพรรคก้าวไกล

300 นโยบายก้าวไกล เปลี่ยนประเทศไทย

สำหรับ 300 นโยบายพรรคก้าวไกล ที่น่าสนใจและเคยมีการนำเสนอออกมาแล้วก่อนนี้ มีทั้งนโยบายด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และสวัสดิการประชาชน อาทิ 

การร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับ มีเนื้อหาที่ครอบคลุมอย่างน้อย 3 ด้าน ปิดช่องรัฐประหารเพิ่มสิทธิของประชาชนในการต่อต้านรัฐประหาร และกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรัฐประหาร ห้ามศาลทั้งปวงรับรองรัฐประหาร และกำหนดให้ทุกสถาบันทางการเมืองมีหน้าที่ร่วมกันในการปกป้องประชาธิปไตยห้ามนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร และเปิดช่องให้ประชาชนดำเนินคดีกับผู้ก่อรัฐประหารในความผิดฐานกบฎได้ เป็นต้น 

เอาทหารออกจากการเมือง แจกใบแดงนายพลให้ห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นเวลา 7 ปี หลังออกจากราชการ เพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซงการเมืองโดยกองทัพ หรือโดยอดีตนายพลที่ยังคงมีสายสัมพันธ์ในกองทัพ (ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาใช้สำหรับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม)

คืนที่ดินกองทัพให้ประชาชน โอนการถือครองที่ดินกองทัพ (โดยเฉพาะค่ายทหารที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่น้อยลงจากการลดขนาดกองทัพ) กลับมาเป็นของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อให้การจัดสรรที่ดินเป็นประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ (เช่น ที่พักอาศัยใจกลางเมือง ที่ดินเพื่อการเกษตร ตลาด สวนสาธารณะ)

ขายเหล้าได้ตลอดวัน ยกเลิกการห้ามขายเหล้า-ฆ่าสัตว์ในวันพระ

– ยกเลิกการกำหนดระยะเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้ประชาชนสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
– ยกเลิกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิของประชาชนโดยเหตุผลแห่งศาสนา เช่น การห้ามขายสุราในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และการห้ามฆ่าสัตว์ใหญ่ในวันพระ
– การยกเลิกกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นเพียงการยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิของประชาชน ผู้ประกอบการยังมีสิทธิเลือกที่จะไม่ขายสุรา ไม่ฆ่าสัตว์ในวันพระได้ ไม่ได้เป็นการบังคับให้ผู้ประกอบการต้องขายสุราหรือฆ่าสัตว์ในวันพระ ดูน้อยลง

เงินคนพิการเดือนละ 3,000 บาท

– เพิ่มเบี้ยคนพิการให้เป็นอัตราเดียวถ้วนหน้า เดือนละ 3,000 บาท จากเดิมที่มีการจัดสรรเบี้ยยังชีพคนพิการในอัตราสูงสุดเพียง 1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าเส้นความยากจน และเป็นรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ดูน้อยลง

ของขวัญแรกเกิด 3,000 บาท ซื้อของเลี้ยงลูก

– แจกคูปองให้พ่อแม่ของเด็กเกิดใหม่ มูลค่า 3,000 บาท เพื่อนำไปแลกซื้อสิ่งของสำหรับพัฒนาการเด็ก จากรายการสินค้าที่มีให้เลือกจำนวนมาก เช่น อุปกรณ์สำหรับเลี้ยงเด็ก อุปกรณ์พัฒนาทักษะ หนังสือนิทาน ดูน้อยลง

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกปี เริ่มทันทีวันละ 450 บาท

– ปรับระบบค่าแรงขั้นต่ำให้มีการปรับขึ้นทุกปีตามค่าครองชีพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้แรงงานได้ร่วมแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมจากการเติบโตของเศรษฐกิจ และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจของตัวเองในแต่ละปีได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
– เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้เริ่มต้นที่วันละ 450 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นทุกปีจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยที่ค่าแรง 300 บาทต่อวัน ถูกประกาศใช้เมื่อปี 2554
– แบ่งเบาภาระค่าแรงที่สูงขึ้นสำหรับ SME ในช่วง 6 เดือนแรก โดยการที่รัฐช่วยสมทบค่าประกันสังคมในส่วนของผู้ว่าจ้าง สำหรับแรงงานที่ถูกกระทบโดยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ดูน้อยลง

ทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หากเกิน ต้องได้ OT

– กำหนดให้ต้องมีชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมง สำหรับงานทั่วไป และไม่เกิน 35 ชั่วโมง สำหรับงานอันตราย
– กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ และวันหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อย 10 วันทำงานต่อปี ดูน้อยลง

ประกันสังคมถ้วนหน้า เจ็บป่วยได้เงินชดเชย-ค่าเดินทางหาหมอ
– นำประชาชนวัยแรงงานทุกคนที่ยังไม่ได้เข้าระบบประกันสังคม (แรงงานนอกระบบ) เข้ามาสู่ระบบประกันสังคมถ้วนหน้า ด้วยการสมทบวันละ 1 บาท โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเพิ่มงบประมาณจากการสมทบของภาครัฐ
– หากจำเป็นต้องลาพบแพทย์: ได้รับค่าชดเชยรายได้ 200 บาทต่อวัน และได้ค่าเดินทางพบแพทย์ 100 บาทต่อวัน
-หากลาคลอด: ได้รับเงินชดเชยรายได้ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน
-หากจำเป็นต้องหยุดงาน (เช่น หยุดตามประกาศของรัฐบาล): ได้รับเงินชดเชยรายได้ 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 25 วันต่อปี
-หากเสียชีวิต: ได้รับค่าฌาปนกิจสงเคราะห์ 10,000 บาท
– ยกเว้นเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับประชาชนที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยรัฐจะสมทบฝ่ายเดียว ดูน้อยลง

บ้านตั้งตัว 350,000 หลัง รัฐช่วยผ่อน-เช่า

– รัฐบาลช่วยค่าผ่อนบ้าน สำหรับผู้ซื้อบ้าน-ที่พักอาศัยใหม่เป็นหลังแรก จำนวน 100,000 ราย ในอัตรา 2,500 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 30 ปี สำหรับบ้าน-ที่พักอาศัยราคาต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท
– รัฐบาลช่วยค่าเช่าบ้าน-ห้องพัก สำหรับผู้เช่าบ้าน-หอพัก จำนวน 250,000 ราย ในอัตรา 1,000 บาท/เดือน สำหรับบ้านเช่า-ห้องเช่าที่มีราคาไม่เกิน 4,000 บาท/เดือน ดูน้อยลง

คลิกอ่าน300นโยบายก้าวไกล