ถังดับเพลิง CO2 ทำไมถึงเกิดระเบิดได้ จากเหตุการถังดับเพลิงระเบิดขณะที่กำลังซ้อมแผนที่ รร.เรียนราชวินิตมัธยม ทำให้นักเรียนเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บอีด 10 กว่าคน
ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) หรือ ถังดับเพลิงCo2 คืออุปกรณ์ดับเพลิงที่บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถังที่สามารถทนแรงดันได้สูงราว 800 – 1200 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ในประเทศไทยจะบรรจุก๊าซดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide – Co2) ในถังดับเพลิงสีแดง ส่วนในต่างประเทศบางประเทศจะบรรจุในถังดับเพลิงสีดำ
มาดูสาเหตุกันครับว่าเกิดจากอะไร ถังดับเพลิงถึงระเบิดได้ ต้องทำความเข้าใจก่อนครับว่า สารเคมีที่ใช้ในการอัดเข้าไปภายในถังมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร
ถังดับเพลิง co2 ภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถังที่ทนแรงดันสูง ประมาณ 800 – 1200 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว คุณสมบัติ ไร้สี ไร้กลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า ไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังฉีดก๊าซ ไม่ทำให้วัสดุที่โดนฉีดเกิดความเสียหาย คุณสมบัติของ CO2 ก่อนครับ เมื่ออัดก๊าซCO2ลงในภาชนะ หรือเป็นการเพิ่มแรงดันของก๊าซ ที่แรงดันและอุณหภูมิจุดหนึ่ง CO2 จะเปลี่ยนสถานะ ได้ 3 สถาณะ คือ ของแข็ง ของเหลว และ ก๊าช
สมมุติอุณหภูมิที่ 21 องศาเซลเซียส ถ้าเราอัดCO2เข้าไปในถังจนถึง 850 psi แรงดันจะเริ่มคงที่ที่ 850psiไม่เพิ่มขึ้น และก๊าซที่อัดเพิ่มเข้าไปหลังจาก850psiจะควบแน่นเป็นของเหลวแทน สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือน้ำหนักที่บรรจุในถังจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากก๊าซกลายเป็นของเหลว
แรงดันก๊าซจะสูงขึ้นหรือต่ำลง อุณหภูมิมีผลโดยตรง
ถ้าอุณหภมูิที่ 21 องศาเซลเซียส แรงดันจะอยู่ที่ 850 psi
และอุณหภูมิอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส แรงดันจะสูงถึงประมาณ 1040 psi
สรุป คือ ถ้าอุณหภูมิภายในถังสุงขึ้น อากาศภายในถังจะขยายตัวขึ้น ถ้าเกินกว่าถังจะรับได้ก็อาจจะเกิดระเบิดขึ้นได้ครับ หรืออีกกรณี ถังมีสภาพชำรุดข้างในเป็นสนิม และเกิดการใช้ซ้ำมาหลายครั้งและไม่ตรวจเช็คสภาพถังเป็นประจำและนำมาใช้งานโดยความประมาท
“อ.อ๊อด” ม.เกษตรฯ เผยปัญหาถังดับไฟ CO2 ระเบิดกลางโรงเรียนราชวินิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ
รศ.ดร.วีรชัย กล่าวว่า สำหรับการซ้อมดับเพลิง เคสนี้มี 2 ส่วน ถังที่บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กับถังเคมีที่ใช้ในการดับไฟ และตัวถังเชื้อเพลิงเหลว LPG ในเคสนี้เกิดการระเบิดที่ถังดับเพลิงสีแดง ซึ่งเป็นถังดับเพลิงที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ใส่เข้าไปด้านในและผงเคมี ที่ช่วยในการดับไฟ โดยปกติถังสีแดงจะทนแรงดันได้ถึง 1,800 PSI หรือเทียบง่ายๆ คือ 126 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ฉะนั้นถ้าแรงดันมากกว่านี้จะเกิดการฉีกขาด เป็นเพราะแรงดันมากกว่า 126 กิโลกรัม ทำให้เกิดระเบิดหรือมาก 1,800 PSI โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดระเบิดได้ มีอยู่ 2 อย่าง คือถังเก่า ไม่มีการ Maintenance เกิดการขึ้นสนิม ทำให้ภาชนะเหล็กที่อยู่ด้านนอกไม่สามารถทน ต่อแรงดันที่ขยายจากด้านในได้ ในระหว่างการใช้ มีการปลดปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์และทางดับเพลิงไปบางส่วน หรือแรงดันที่ยังสูงอยู่ ทำให้เกิดการฉีกขาด หรือไม่ก็การบรรจุใหม่ เช่น ถังเก่าที่พ่นไปแล้วและเกิดการบรรจุใหม่ ที่บรรจุก๊าซเกินกว่าที่ถังจะรับไหว