วันจันทร์, 7 ตุลาคม 2567

แนะนำ 30 กลุ่มชาติพันธ์ ชนเผ่า ในจังหวัดเชียงราย

แนะนำ 30 กลุ่มชาติพันธ์ ชนเผ่า ในจังหวัดเชียงราย

กลุ่มชาติพันธ์ในจังหวัดเชียงราย

พื้นที่ของจังหวัดเชียงรายมีกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ทั้งตามที่ราบและบนดอยสูง ซึ่งชนแต่ละกลุ่มจะมีศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกันไปตามแต่วิถีดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยประชากรในเชียงรายสามารถจำแนกออกเป็นชนชาติต่างๆได้ดังนี้

1. ลื้อเชียงรุ้ง เดิมอาศัยตั้งบ้านเมืองอยู่บริเวณเขตเมืองเชียงรุ้งในอาณาเขตอาณามลฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน เมื่อกลางปี 2492 ได้พากันอพยพเข้ามาอยู่ในเขตไทย อาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ . บ้านริมฝั่งแม่น้ำสาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

2. มูเซอดำ อาศัยอยู่ในเขตดอยตุง ดอยจ้อง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

3. จีน ที่อยู่ในจังหวัดเชียงรายมีหลายพวกหลายภาษา มีจีนแคระ ไหหลำ แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน

4. ลัวะ หรือละว้า ในจังหวัดเชียงราย ชาวลัวะอาศัยอยู่ในเขตตำบลบัวสลี ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย

5. ฮ่อ คือคนจีนที่อยู่ในเขตมณฑลยูนนานในประเทศจีน ในจังหวัดเชียงรายอยู่กระจัดกระจาย เช่น อำเภอแม่สาย เชียงของ ดอยช้าง (เขตอำเภอเมือง) ดอยผาหมี (เขตอำเภอแม่สาย)

6. ไตยอง ชาวเหนือเรียกว่า “ยอง” ปัจจุบันอาศัยอยู่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

7. ลื้อเชียงคำ เดิมอพยพมาจากเมืองพง เมืองหย่วน เมืองมาง เมืองฮ้ง เมืองเชียงคาน ในเขตมณฑลยูนนานตอนใต้ ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (เดิมเป้นเขตพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย)

8. ยางหรือกะเหรี่ยง ในจังหวัดเชียงราย อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง แม่จัน แม่สรวย และอำเภอเวียงป่าเป้า

9. ลาวอินโดจีน เป็นคนไทยเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน เชียงของ จังหวัดเชียงราย

10. อีก้อ หรือ อาข่า ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามภูเขา อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

11. ลื้อห้วยเม็ง ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

12. ม้ง หรือ แม้ว ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามภูเขาต่างๆ เช่น ดอยช้าง ดอยผาหม่น ดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

13. ไตหย่า เดิมอาศัยอยู่ในมณฑลยูนนานประเทศจีน ปัจจุบันอาศัยอยู่บริเวณบ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

14. ต่องซู่ อพยพมาจากพม่า ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สาย และอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

15. ไตเมืองเหนือ ปัจจุบันอาศัยอยู่บริเวณหมู่บ้านสันมะแฟน ตำบลแม่จัน และอำเภอแม่สาย

16. ข่ามุ ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยข่อย ห้วยกอก อำเภอเชียงของ และบ้านห้วยเอียน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

17. ณวน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

18. ลื้อแจ้ง ปัจจุบันอาศัยอยู่บริเวณบ้านปอ ตำบลปอ บ้านท่าข้าม ตำบลม่วงยาย บ้านพร้าวกุด ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

19. เย้า เดิมอาศัยอยู่ตามภูเขาในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ปัจจุบันอาศัยอยู่บนเขาอำเภอแม่จัน พาน เชียงของ จังหวัดเชียงราย

20. ยางแดง หรือกระเหรี่ยงแดง ปัจจุบันอาศัยอยู่บริเวณบ้านโป่งพระบาท ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

21. ม่าน ม่านคือชาวพม่าที่ชาวเหนือเรียก ได้เข้ามาอยู่ในจังหวัดเชียงรายมานานพอสมควร อาศัยอยู่บริเวณอำเภอแม่สาน จังหวัดเชียงราย

22. ยางขาว หรือกระเหรี่ยงขาว ในจังหวัดเชียงรายจะพบได้บริเวณบ้านห้วยขม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

23. ลื้อน้ำอู ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

24. ไทยใต้ คือคนไทยที่เคยอาศัยอยู่ในภาคใต้ขึ้นมาอยู่ที่เชียงราย โดยเป็นพ่อค้าหรือข้าราชการ

25. แขก บางออกเป็น 2 พวก คือแขกมลายู และแขกอินเดีย ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

26. ข่าฮอก เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ตามเชิงเขาในอินโดจีน และอพยพมาอยู่จังหวัดเชียงราย ในเขตอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

27. ไทใหญ่ หรือเงี้ยว ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง (บ้านสันป่าก่อ) อำเภอแม่จัน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

28. ลีซอ ปัจจุบันจะอาศัยอยู่ในเขตอำเภอแม่จัน (บ้านห้วยมะหินฝน) และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

29. กุ่ย อาศัยอยู่แถวอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

30. เขิน หรือ ไตเขิน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตสหรัฐไทใหญ่ ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และย้ายไปอาศัยกระจายแต่ละหมู่บ้าน แต่ละอำเภออีกมากที่ไม่ได้เอ่ยถึง ปัจจุบันมีมากและได้รับสัญชาติไทย เป็นคนไทย

แนะนำ 30 กลุ่มชาติพันธ์ ชนเผ่า ในจังหวัดเชียงราย

สำหรับท่านที่สนใจศึกษา สามารถเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ 30 ชนเผ่า หรืออาคารแสดงศิลปะการแต่งกาย 30 ชนเผ่าในเชียงราย ตั้งอยู่ภายในสวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ 75 พรรษา ซึ่งในอดีตคือที่ตั้งของเรือนจำกลางจังหวัดเชียงราย โดยเทศบาลนครเชียงราย ได้ปรับภูมิทัศน์เรือนจำกลางให้เป็นสวนสาธารณะและพื้นที่ทางวัฒนธรรม อาคารเรือนคุมขังนักโทษหญิง ซึ่งเป็นอาคารไม้เก่าแก่ถูกบูรณะและปรับให้เป็นอาคารที่รวบรวมศิลปะการแต่งกายของ 30 ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยความหลากหลายของชนเผ่า ทำให้ประชากรในจังหวัดเชียงรายมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม แต่ก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในผืนแผ่นดินไทยภาคเหนือตอนบน โดย 30 ชนเผ่านั้น ประกอบไปด้วย ลื้อเชียงรุ้ง มูเซอดำ จีน ลัวะหรือละว้า ฮ่อ ไตยองหรือยอง ลื้อเชียงคำ ยางหรือกะเหรี่ยง ลาวอินโดจีน อีก้อหรืออาข่า ลื้อห้วยเม็ง ม้งหรือแม้ว ไตหย่า ต่องซู ไตเมืองเหนือ ข่ามุ ณวน ลื้อแจ้ง เย้า ยางแดงหรือกะเหรี่ยงแดง ม่าน ยางขาวหรือกะเหรี่ยงขาว ลื้อน้ำอู ไทยใต้ แขก ข่อฮอก ไทยใหญ่หรือเงี้ยว ลีซอ กุ่ย และเขินหรือไตเขิน

ที่ https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/1277