เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่ บ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายกับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางR3A เส้นทางR3A ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน ลาว ไทย
บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัทกรุงธน เอนจิเนียริง จำกัดของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยก่อสร้างตัวสะพานแล้วเสร็จในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556
หลังใช้เวลาก่อสร้างนานประมาณ 2 ปี “สะพานมิตรภาพ 4” (เชียงของ – ห้วยทราย) เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวเหนือ – ใต้ เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ลาว และจีนตอนใต้เข้าด้วยกัน ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่งรัฐบาลไทย รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ร่วมกันดำเนินการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 4 ซึ่งรัฐบาลไทยจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งรัฐบาลจีนเป็นผู้ให้การสนับสนุนร่วมด้วย
สำหรับบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Jiontventure ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัทกรุงธน เอนจิเนียริ่ง จำกัด ของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ตั้งอยู่ในพื้นที่ฝั่งไทยที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ – ห้วยทราย) โดยมีความยาวของเส้นทางรวม 11.6 กิโลเมตร ลักษณะโครงการประกอบด้วย งานหลัก 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 (ถนนฝั่งไทย) เป็นถนนลาดยางขนาด 4 ช่องจราจร เขตทางกว้าง 60 เมตร ระยะทาง 5 กิโลเมตร ส่วนถนนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องจราจร เขตทางกว้าง 50 เมตร ระยะทาง 6 กิโลเมตร
ส่วนที่ 2 (สะพานข้ามแม่น้ำโขง) เป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงขนาด 2 ช่องจราจร พร้อมทางเท้าทั้ง 2 ข้าง ความกว้างสะพานรวม 14.70 เมตร ความยาวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำโขง 480 เมตร และสะพานต่อเนื่องบนบกในประเทศไทยอีก 150 เมตร รวมทั้งสิ้น 630 เมตร มีตอม่อในแม่น้ำโขง 4 ตอม่อ
ส่วนที่ 3 (ด่านพรมแดนฝั่งไทยและฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ซึ่งรวมพื้นที่สำหรับการตรวจปล่อยร่วมกัน ณ จุดเดียวในแต่ละประเทศตามหลักการตรวจร่วมจุดเดียว (Single Stop Inspection)
ส่วนที่ 4 (จุดเปลี่ยนทิศทางการจราจรในฝั่งไทย) ซึ่งอยู่ระหว่างด่านพรมแดนไทยกับสะพานข้ามแม่น้ำโขง
เส้นทางสู่ประตูการค้าอาเซียน
โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่ถือว่ามีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงภูมิภาค ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศอีกทั้งมีตำแหน่งอยู่ใจกลางกลุ่มประเทศในอาเซียน มีความหลากหลายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่วนสปป.ลาวเป็นอีกหนึ่งประเทศสมาชิกในอาเซียนที่มีศักยภาพสูง เพราะมีเขตแดนเชื่อมต่อกับจีนและหลายประเทศในภูมิภาค มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุ ป่าไม้ หรือพลังงาน อีกทั้ง ยังมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ จึงมีโอกาสพัฒนาประเทศได้มากในทุก ๆ ด้าน
ดังนั้นเมื่อไทย สปป. ลาว ร่วมมือกันจะยิ่งมีศักยภาพทั้งในเชิงภูมิศาสตร์จากการมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 5 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์- จีน- เวียดนาม- กัมพูชา และมาเลเซีย นอกจากนั้น ยังมีความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน เทคโนโลยี สารสนเทศ ฯลฯ
ประการสำคัญ ทั้ง 2 ประเทศอยู่ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ – ใต้ (North-South Economic Corridor) เชื่อมโยงเมียนมาร์- ไทย- จีน และสปป.ลาว และแนวตะวันออก – ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงเมียนมาร์ ไทย- สปป.ลาว และเวียดนามภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ระหว่าง 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา -จีนตอนใต้ (ยูนนาน)- สปป.ลาว- เมียนมาร์- ไทย และเวียดนาม ซึ่งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การลงทุน การบริการ และการเป็น “ประตูการค้า” ของอาเซียนเชื่อมโยงสู่จีนและอินเดีย
นอกจากนี้ประเทศไทยและสปป.ลาวยังมีนโยบายพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมทางเศรษฐกิจชายแดนร่วมกันในลักษณะของเมืองคู่แฝด ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ระหว่างประเทศในภูมิภาค คือ กัมพูชา สปป.ลาว- เมียนมาร์- ไทย และเวียดนาม
เชื่อมคมนาคมขนส่งไทย-สปป.ลาว-จีน
เมื่อการรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดผนวกกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความพร้อมของไทยและลาวให้มากขึ้นผ่านสะพานมิตรภาพไทย ลาวด้านหนองคาย – เวียงจันทน์ ด้านมุกดาหาร สะหวันนะเขต และด้านนครพนม คำม่วน
สำหรับ สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ – ห้วยทราย) เชื่อมโยงจังหวัดเชียงราย บ่อแก้ว – คุนหมิง ตามแนวเส้นทางสาย R3A เป็นโครงการหนึ่งในแผนการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจด้านเหนือ ( North South Economic Corridor) เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งของประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าด้วยกัน อันจะช่วยส่งเสริมการค้าขายและการคมนาคม รวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนใน 3 ประเทศข้างต้น
นอกจากประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้แล้ว “สะพานมิตรภาพ 4” (เชียงของ – ห้วยทราย) ยังจะมีส่วนช่วยเสริมต่อการคมนาคมขนส่งภายในประเทศทั้งไทย ลาว – จีน โดยเฉพาะทางภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อีกด้วย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,905 วันที่ 15 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สถานที่ ด่าน ตม. สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย
โทรศัพท์ 053-791663, 791332, 791817
เว็บไซต์ http://chiangsaen.immigration.go.th/2012-05-28-09-19-03.html
ที่มา https://www.cots.go.th/travelview/detail.php?id=223