รายงานที่ประชุม คณะกรรมการค่าจ้าง หลังมีมติ เคาะขึ้นค่าจ้าง ค่าแรงขั้นต่ำ รายละเอียด มีดังนี้
ช่วงที่ 1 สูงสุด 354 บาท มี 3 จังหวัดคือ ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต
ช่วงที่ 2 ค่าจ้างขั้นต่ำ 353 บาท จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร
ช่วงที่ 3 ค่าจ้างขั้นต่ำ 345 บาท มี 1 จังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ช่วงที่ 4 ค่าจ้างขั้นต่ำ 343 บาท มี 1 จังหวัดคือ พระนครศรีอยุธยา
ช่วงที่ 5 ค่าจ้างขั้นต่ำ 340 บาท มี 14 จังหวัดได้แก่ ปราจีนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี พังงา กระบี่ ตราด ขอนแก่น เชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี
ช่วงที่ 6 ค่าจ้างขั้นต่ำ 338 บาท มี 6 จังหวัดได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร สมุทรสงคราม จันทบุรี และนครนายก
ช่วงที่ 7 ค่าจ้างขั้นต่ำ 335 บาท มี 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ กาญจนบุรี บึงกาฬ ชัยนาท นครพนม พะเยา สุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย พัทลุง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก อ่างทอง สระแก้ว บุรีรัมย์ และเพชรบุรี
ช่วงที่ 8 ค่าจ้างขั้นต่ำ 332 บาท มีทั้งหมด 22 จังหวัด คือ จังหวัดอำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตรัง ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุทัยธานี ลำปาง ลำพูน ชุมพร มหาสารคาม สิงห์บุรี สตูล แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร ราชบุรี ตาก นครศรีธรรมราช ชัยภูมิ ระนอง และพิจิตร
ช่วงที่ 9 ถ้าจ้างขั้นต่ำ 328 บาท มี 5 จังหวัดได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี
ทั้งนี้มีรายงานถึงบรรยากาศในที่ประชุมพิจารณาเคาะขึ้นค่าแรงครั้งนี้ เป็นไปอย่างเคร่งเครียด เนื่องจากมีการเสนอขึ้นค่าจ้างฯ ในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดย ชลบุรี กทม. เสนอปรับเยอะสุด เสนอมา 360 บาท รองลงมาคือ ภูเก็ต 358 บาท
ต่ำสุดเสนอปรับที่ 328 มี 8 จังหวัดส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคอีสาน ทำให้กรรมการสัดส่วนนายจ้างยังยื้อเอาไว้ เพราะที่ประชุมอยากขึ้นค่าจ้างเต็มเหนี่ยว ราวๆ 5-8% ซึ่งหากเป็นเรตนี้นายจ้างก็อยู่ไม่ไหว ขณะเดียวกันนายจ้างกลับกดเรตการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพียง 1%
ที่มา ภาพ Facebook กระทรวงแรงงาน