กระทรวงแรงงาน มีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 ประกอบด้วย กรรมการไตรภาคีเพื่อพิจารณาการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2566 โดยมีนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุม
หลังการประชุมที่ใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง นายไพโรจน์ ซึ่งเป็นกรรมการไตรภาคีด้วย แถลงผลการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2566 ว่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัด ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท ซึ่งค่าจ้างค่าขั้นต่ำที่เพิ่มมากที่สุด คือ จ.ภูเก็ต คือ 370 เพิ่มขึ้นจาก 354 บาท และต่ำที่สุดคือ 330 บาท ใน 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 328 บาท ซึ่งจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ เพื่อรับรองและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
สำหรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำต่อวัน มีทั้งหมด 17 อัตรา ประกอบด้วย
1.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 370 บาท 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต (จากเดิม 354 บาท)
2.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 363 บาท 6 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร (จากเดิม 353 บาท)
3.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 361 บาท 2 จังหวัด จังหวัดชลบุรี และระยอง (จากเดิม 354 บาท)
4.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 352 บาท จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา (จากเดิม 340 บาท)
5.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 351 บาท จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม (จากเดิม 338 บาท)
6.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 350 บาท จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จากเดิม 343 บาท) สระบุรี (จากเดิม 340 บาท) ฉะเชิงเทรา (จากเดิม 345 บาท) ปราจีนบุรี (จากเดิม 340 บาท) ขอนแก่น (จากเดิม 340 บาท) และเชียงใหม่ (จากเดิม 340 บาท)
7.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 349 บาท จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี (จากเดิม 340 บาท)
8.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 348 บาท จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี (จากเดิม 340 บาท) นครนายก (จากเดิม 338 บาท) และหนองคาย (จากเดิม 340 บาท)
9.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 347 บาท จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ และตราด (จากเดิม 340 บาท)
10.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 345 บาท จำวน 15 จังหวัดกาญจนบุรี (จากเดิม 335 บาท)ประจวบคีรีขันธ์ (จากเดิม 335 บาท) สุราษฎร์ธานี (จากเดิม 340 บาท) สงขลา (จากเดิม 340 บาท) พังงา (จากเดิม 340 บาท) จันทบุรี (จากเดิม 338 บาท) สระแก้ว (จากเดิม 335 บาท) นครพนม (จากเดิม 335 บาท) มุกดาหาร (จากเดิม 338 บาท) สกลนคร (จากเดิม 338 บาท) บุรีรัมย์ (จากเดิม 335 บาท) อุบลราชธานี (จากเดิม 340 บาท) เชียงราย (จากเดิม 332 บาท) ตาก (จากเดิม 332 บาท) พิษณุโลก (จากเดิม 335 บาท)
11.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 344 บาท จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี (จากเดิม 335 บาท) ชุมพร (จากเดิม 332 บาท) สุรินทร์ (จากเดิม 335 บาท)
12.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 343 บาท จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยโสธร (จากเดิม 335 บาท) ลำพูน (จากเดิม 332 บาท) นครสวรรค์ (จากเดิม 335 บาท)
13.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 342 บาท จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (จากเดิม 332 บาท) บึงกาฬ (จากเดิม 335 บาท) กาฬสินธุ์ (จากเดิม 338 บาท) ร้อยเอ็ด (จากเดิม 335 บาท) เพชรบูรณ์ (จากเดิม 335 บาท)
14.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 341 บาท จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท (จากเดิม 335 บาท) สิงห์บุรี (จากเดิม 332 บาท) พัทลุง (จากเดิม 335 บาท) ชัยภูมิ (จากเดิม 332 บาท) และอ่างทอง (จากเดิม 335 บาท)
15.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 340 บาท จำนวน 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง (จากเดิม 332 บาท) สตูล (จากเดิม 332 บาท) เลย (จากเดิม 335 บาท) หนองบัวลำภู (จากเดิม 332 บาท) อุดรธานี (จากเดิม 328 บาท) มหาสารคาม (จากเดิม 332 บาท) ศรีสะเกษ (จากเดิม 332 บาท) อำนาจเจริญ (จากเดิม 332 บาท) แม่ฮ่องสอน (จากเดิม 332 บาท) ลำปาง (จากเดิม 332 บาท) สุโขทัย (จากเดิม 332 บาท) อุตรดิตถ์ (จากเดิม 335 บาท) กำแพงเพชร (จากเดิม 332 บาท) พิจิตร (จากเดิม 332 บาท) อุทัยธานี (จากเดิม 332 บาท) และราชบุรี (จากเดิม 332 บาท)
16.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 338 บาท จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง (จากเดิม 332 บาท) น่าน (จากเดิม 328 บาท) พะเยา (จากเดิม 335 บาท) แพร่ (จากเดิม 332 บาท)
17.อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 330 บาท จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา (จากเดิม 328 บาท)
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
นายไพโรจน์ กล่าวว่า หลังจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวมีผลใช้บังคับในปี 2567 จะทำให้ประเทศไทยมีมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 345 บาท/วัน โดยที่ประชุมได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาคและการหารือของแต่ละจังหวัด และการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้เป็นการปรับเพื่อให้แรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงาน สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น โดยพิจารณาบนพื้นฐานของความเสมอภาค และรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้าง/ลูกจ้าง สามารถประกอบธุรกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข กระทรวงแรงงาน จะนำผลสรุปเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 นี้ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็วที่สุด และให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
อ้างอิง mgronline.com