ติดโควิดประกันสังคมจ่ายไหม ยื่นขอรับเงินขาดรายได้จากประกันสังคม เช็คสิทธิ “ผู้ประกันตน” ม.33 ม.39 และ ม.40 ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน สำนักงานประกันสังคมจ่ายชดเชยให้ทุกมาตรา ยื่นรับประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 2 ปี
สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม แล้วส่งทางไปรษณีย์ และแนบสำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์ ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการและโอนเงินเข้าบัญชีให้
ทั้งนี้สามารถติดตาม TikTok สำนักงานประกันสังคม @ssonews1506 สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมแนะนำให้ยื่นเรื่องรับประโยชน์ทดแทน ผ่านช่องทาง “สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน” (คลิก)
ผู้ประกันตนติดโควิดจ่ายชดเชยอย่างไร?
- กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
หยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
– ม.39
- รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50
โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
– ม.40
- รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3
พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/,ม.40)
ติดเชื้อ-ป่วย-กักตัว-พักรักษา ยื่นขอรับเงินชดเชยจากประกันสังคมได้
- กรอกแบบฟอร์มขอรับเงินคืน https://bit.ly/3M7VHPA
- ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม
ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน