ฮ้างจิบ
เมื่อครั้งที่ผมได้มีโอกาศเดินทางไปบันทึกภาพการจับปลา แห่งลำน้ำแม่คาว ที่บ้านมิตรสหายท่านหนึ่งนั้น ในขณะที่ผมได้บันทึกภาพอยู่ก็เหลือบไปเห็น นั่งร้านที่ตั้งอยู่กลางลำห้วย ด้วยความสงสัยจึงได้ซักถามคุณลุงท่านหนึ่งที่อยู่ตรงนั้น
จากการสนทนาคุณลุงได้บอกว่า นั่งร้านที่ผมเห็นอยู่นั่น เรียกว่า “ฮ้างจิบ” คือที่วางอวนดักปลาจากภูมิปัญญาเก่าแก่ของบรรพบุรุตที่ได้สืบทอดกันมา และผมก็ได้เข้าไปค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตพบว่า
“จิบเป็นเครื่องมือจับปลาที่สานจากด้ายหรือป่านคล้ายโพงพาง ผูกจิบติดกับขาไม้สามเหลี่ยมขวางช่องว่าง เพื่อดักทางปลาที่ว่ายลงไปตามสายน้ำไหล ผู้อยู่จิบต้องคอยจับเส้นเชือกที่ผูกโยงมาจากส่วนปลายของจิบ หรือมัดแขนมัดนิ้วไว้เมื่อเอนหลับไป ถ้าปลาลงจิบเส้นเชือกจะกระตุก ต้องรับยกจิบขึ้นงัดขึ้นมาจับปลา ผู้อยู่จิบมักจะก่อกองไฟบนร้านจิบเพื่อให้ความอบอุ่น ไล่แมลง ทำอาหาร จุดยาสูบ ซึ่งสามารถนั่งหรือนอนอยู่จิบได้ทั้งกลางวันหรือกลางคืน” (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 268) http://www.mapculture.org/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=196&Itemid=58
และเมื่อมีน้ำขึ้น จากการคำนวน วันเวลาของพลานปลา จะรู้ว่าเราควรจะมาดักปลา ตรงฮ้างจิบนี้เมื่อไหร่และตอนไหน สำหรับการเดินทางบันทึกเรื่องราวการจับปลาของผมในครั้งถือได้ว่า เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลยทีเดียวครับ โชคดีมากๆที่ได้รับความรู้ใหม่ๆจากคนเฒ่าคนแก่ การดักปลาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ในจังหวัดเชียงราย ยังมีอีกมากมายหลายวิธีที่เราต้องศึกษาและค้นคว้าหาความรู้เพื่อนำมาเผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาแบะเรียนรู้กันต่อไปครับผม
จิบ จิบดักปลา ทางเดิน นั่งร้านจิบ จิบดักปลา