วันพุธ, 4 ธันวาคม 2567

เวียงหนองหล่ม ตำนานและเรื่องเล่า

19 ม.ค. 2022
1312

เวียงหนองหล่ม ตำนานเรื่องเล่าต่อกันมาแห่งอณาจักร เมืองโยนกนาคนคร

เวียงหนองหล่ม ตำนานและเรื่องเล่า โดย คุณ หนิม คนึงพิมพ์

 เวียงหนองหล่มเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีลักษณะเป็นแอ่งรับน้ำ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดของอำเภอแม่จัน บริเวณแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโยนกนาคนคร ต่อมาได้เกิดการล่มสลายลงไป ซึ่งมีความเชื่อตั้งอยู่บนสมมุติฐาน มนต์ตราแห่งคำสาปของ “เวียงโยนกนาคพันธุ์” ที่มีความเป็นมาของดินแดนและชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำสายและแม่น้ำโขง รวมถึงแถบลุ่มแม่น้ำกกนั้น ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 ในรัชสมัยพญามังราย ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ทว่าก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 19 นั้น พบว่ามีชุมชนเกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ ชุมชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำกก – โขง และชุมชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง

ขอบคุณคลิปจากติ๊กต๊อก คุณหนิม คนึงพิมพ์ nhim_kanuengpim

ส่วนประเด็นเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณพื้นที่เวียงหนองหล่ม (เมืองโยนกนาคนคร ) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตปกครองของ ต.จันจว้า , ต.จันจว้าใต้ ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน และ ต.โยนก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ว่ามีแนวลอยเลื่อนของเปลือกโลกที่เรียกว่า “ แนวลอยเลื่อน แม่จัน – เชียงแสน’’ หรือ “ รอยเลื่อนเชียง แสน’’ รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนสุดของประเทศ มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จัน อ.แม่จัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแม่น้ำเงิน ทางด้านทิศเหนือของ อ.เชียงของจ.เชียงราย แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ตามแนวเลื่อนนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 วัดได้ 4.9 ริคเตอร์ และตั้งแต่ พ.ศ 2521 เป็นต้นมา ได้เกิดแผ่นดินไหววัดได้มากกว่า 3 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้ นับจำนวนได้ 10 ครั้ง และมี 3 ครั้งวัดได้มากกว่า 4.5 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นโดยทั้งหมดบริเวณนี้เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในระดับที่ตื้นกว่า 10 กิโลเมตร

ข้อมูลอ้างอิง โดยจักรพงษ์ คำบุญเรือง