วันอังคาร, 3 ธันวาคม 2567

แอ่งหนองเวียง รู้จักกันในนาม เวียงหนองหล่ม

แอ่งหนองเวียง รู้จักกันในนาม เวียงหนองหล่ม

หนองเวียง หรือที่เรารู้จักกันในนาม เวียงหนองหล่ม เป็นหนองน้ำและบริเวณที่ลุ่มต่ำ รูปร่างยาวตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ ปิดล้อมด้วยเนินเขา ยกเว้นด้านตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบเปิดโล่งจนถึงแม่น้ำโขงบริเวณด้านใต้ของ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย น้ำในแอ่งหนองเวียงระบายสู่แม่น้ำกกทางทิศตะวันออกตามลำน้ำแม่ลัว แต่ในฤดูน้ำหลาก น้ำจากแม่น้ำกกจะหลากเข้าท่วมไปในหนองเวียงทำให้เกิดบึงน้ำขนาดใหญ่

พื้นที่บริเวณโดยรอบหนองเวียงแสดงร่องรอยของแนวรอยเลื่อนหลายแนว ที่สำคัญได้แก่ แนวรอยเลื่อนที่เป็นแนวยาว วางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศตามแนวรอยเลื่อนอันได้แก่ แม่น้ำกก แม่น้ำบง ผาชันของดอยผาตอง รวมทั้งขอบของหนองเวียงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้

จากการที่ขอบของหนองเวียงเป็นแนวเดียวกันกับแนวรอยเลื่อน ทำให้สันนิษฐานได้ว่าหนองเวียงเป็นแอ่งที่เกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งแต่เดิมเกิดเป็นแอ่งยาวตามแนวรอยเลื่อน แต่ต่อมามีตะกอนมาทับถมบริเวณแอ่งด้านตะวันออกจนตื้นเขิน เหลือส่วนด้านตะวันตกเป็นหนองน้ำ

ปัจจุบันมีการทำถนนเข้าไปในหนองเวียง ถนนเหล่านี้กั้นทางน้ำและกั้นการไหลของน้ำจากแม่น้ำกกที่เข้ามาในหนองเวียงในฤดูน้ำหลาก ทำให้น้ำในหนองเวียงลดปริมาณลง บางส่วนแห้งเป็นแผ่นดิน

พื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองหล่มที่ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง ตำบลจันจว้า , ตำบลจันจว้าใต้ , ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน และ ตำบลโยนก อำเภอ เชียงแสน ซึ่งมีพื้นที่ ประมาณ 34,000 ไร่ ลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ปลา นก และพืช ต่างๆ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่เวียงหนองหล่ม มีบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก แม่จัน – เชียงแสน ที่ผ่านบริเวณตอนกลางของเวียงหนองหล่ม

แผนที่ไปแอ่งหนองเวียง https://goo.gl/maps/3VHi4NmesEYcc1tR7

ตำนานปรัมปรา เล่าเรื่องเกาะแม่ม่ายและเวียงหนองหล่ม

มีตำนานปรัมปรา เล่าเรื่องเกาะแม่ม่ายและเวียงหนองหล่ม. หรืออาณาจักรโยนกนาคนคร ซึ่งตามตำนานโบราณเล่าขานว่า เกิดจากการกินปลาไหลเผือก แต่เหลือนางแม่ม่าย ไม่ได้กิน บริเวณบ้านของนางจึงไม่ล่มจมเป็นหนองน้ำ และกลายเป็นเกาะกลางน้ำ ปัจจุบันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมชื่อ วัดป่าหมากหน่อ หรือวัดพุทธทศพล บ้านหนองล่ม(ดอนแม่หม้าย) หมู่ 4 ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย ในเขตรอยต่อ อ.เชียงแสนกับ อ.แม่จัน ซึ่งมีหนองหล่มกว้างใหญ่ หลายพันไร่
วัดป่าหมากหน่อ หรือวัดพุทธทศพล..เป็นวัดร้างในอดีต และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2523 มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เดิมมีสภาพเป็นเกาะ ชื่อ เกาะแม่ม่าย อยู่ห่างจากแผ่นดิน ประมาณ 200 เมตร มีหนองน้ำล้อมรอบ

เมืองโยนกนาคสิงหนวัติ หรือเมืองเชียงแสน เป็นเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งของแคว้นล้านนา ราชวงค์สิงหนวัติ เป็นกลุ่มแรก ที่เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก ชื่อเมือง “โยนกนาคพันธสิงหนวัติ” มีกษัตริย์ผู้สืบเชื้อสายปกครองต่อๆ กันมา อาณาจักรโยนกนาคนคร เช่น พระเจ้าพังคราช พระเจ้าพรหม พระเจ้าชัยศิริ. ซึ่งสมัยของพระเจ้าพรหม รวบรวมบ้านเมืองและขยายขอบเขตของแคว้นโยนกออกไปได้หลายพื้นที่ คือ เมืองไชยปราการ (เขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่) เมืองไชยนารายณ์ (เขตอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย) และเวียงพางคำ (เขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย)
ต่อมาประมาณ พ.ศ. 1552 อาณาจักรโยนกนาคนครในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องมาจากพนังกั้นน้ำหรือเขื่อนเหนือน้ำพังทลายลง จนทำให้ที่ตั้งเมืองกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ (เข้าใจว่าจะเป็นบริเวณที่เรียกว่าเวียงหนองล่ม บ้านท่าข้าวเปลือก ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากทะเลสาบเชียงแสน และบริเวณที่แม่น้ำกกต่อกับแม่น้ำโขง ใกล้วัดพระธาตุผาเงาและพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย) จนเป็นเหตุให้บรรดาราชวงศ์กษัตริย์และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิตด้วยเหตุน้ำท่วมเมืองทั้งหมด พวกชาวบ้านที่เหลือรอดชีวิตได้ประชุมปรึกษากันเลือกตั้งให้คนกลุ่มหนึ่งที่มิใช่เชื้อสายราชวงศ์ขึ้นดูแลพวกตน เรียกว่า ขุนแต่งเมือง หรือชื่อว่า “ขุนลัง”ได้พากันออกไปสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ บริเวณปากแม่น้ำกกขื่อว่า “เวียงปรึกษา”เป็นเวลาต่อไปอีก 94 ปี อาณาจักรโยนกนาคนครจึงสิ้นสุดลงเพราะเกิดแผ่นดินไหว ในสมัยพระมหาชัย

มีตำนานปรัมปรา เล่าเรื่องเกาะแม่ม่ายและเวียงหนองหล่ม. หรืออาณาจักรโยนกนาคนคร ซึ่งตามตำนานโบราณเล่าขานว่า เกิดจากการกินปลาไหลเผือก แต่เหลือนางแม่ม่าย ไม่ได้กิน บริเวณบ้านของนางจึงไม่ล่มจมเป็นหนองน้ำ และกลายเป็นเกาะกลางน้ำ ปัจจุบันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมชื่อ วัดป่าหมากหน่อ หรือวัดพุทธทศพล บ้านหนองล่ม(ดอนแม่หม้าย) หมู่ 4 ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย ในเขตรอยต่อ อ.เชียงแสนกับ อ.แม่จัน ซึ่งมีหนองหล่มกว้างใหญ่ หลายพันไร่
จากเว็ป..ประวัติเมืองเชียงแสนโดยมูลนิธิพระเชียงแสนสี่แผ่นดิน จ.เชียงราย