วันพุธ, 26 มีนาคม 2568

นายก ประยุทธ์ ครบวาระ 8 ปี วันไหน

นายก ประยุทธ์ ครบวาระ 8 ปี วันไหน

ยังไม่มีใครหรือพรรคการเมืองไหนยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ อยู่ในตำแหน่งครบ 8 ปี 24 ส.ค.65 นี้ บนเก้าอี้นายกฯ

เรื่องข้อกฎหมายที่ต้องมีการชี้ขาด เพราะมันเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง 8 ปีเพื่อให้เกิดความชัดเจน

ข้อกฎหมาย

การนั่งบริหารราชการแผ่นดินของ พล.อ. ประยุทธ์ ตั้งแต่ปี 2557 กำลังถูกจับตามองอย่างหนักว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ห้ามไม่ให้นายกฯ ดำรงตำแหน่งรวมกันเกิน 8 ปี หรือไม่

ข้อกฎหมายที่บรรดานักกฎหมายจากสำนักคิดต่าง ๆ หยิบยกมาพูดถึงบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560

  • มาตรา 158 วรรคสี่ ระบุว่า นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าต่อต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง
  • มาตรา 158 วรรคสอง ระบุว่า นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159
  • มาตรา 264 ระบุว่า ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็น ครม. ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
  • คำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ 2560 ในส่วนของมาตรา 158 (ปรากฏในหน้า 275) ระบุว่า การกำหนดระยะเวลา 8 ปีก็เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอำนาจในทางการเมืองยาวเกินไปอันเป็นต้นเหตุเกิดวิกฤตทางการเมืองได้

ข้อถกเถียง

หลังต่างฝ่ายต่างแยกย้ายไปพลิกตัวบท พบว่ามีข้อถกเถียงในหมู่นักการเมืองและนักกฎหมายเกี่ยวกับการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของ พล.อ. ประยุทธ์ ใน 3 แนวทาง ดังนี้

แนวทางแรก เห็นว่า ควรเริ่มนับตั้งแต่ พล.อ. ประยุทธ์เป็นนายกฯ ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 นั่นเท่ากับว่าเขาสามารถดำรงตำแหน่งได้ถึง 23 ส.ค. 2565 เพราะไม่มีบทยกเว้นตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158

ผู้สนับสนุนการตีความแนวนี้ อาทิ ส.ส.ฝ่ายค้าน, กลุ่มที่เรียกตัวเอง “99 พลเมือง” รวมถึงนายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน

กลุ่ม 99 พลเมือง ชี้ว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 264 บัญญัติไว้ชัดเจนให้ ครม. ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 เป็น ครม. ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ อีกทั้งคำอธิบายประกอบมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญ ก็ระบุถึงมุ่งหมายเรื่องการกำหนดระยะเวลา 8 ปี “เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอำนาจในทางการเมืองยาวเกินไปอันเป็นต้นเหตุเกิดวิกฤตทางการเมืองได้” จึงมิอาจตีความเป็นอื่น

พวกเขาจึงออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พล.อ. ประยุทธ์ลาออกก่อนครบกำหนด 8 ปีตามรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในสังคมและให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปตามกติกา

มีข้อพิจารณาอยู่ 3 แนวทาง

1. นับตั้งแต่ปี 2557 ที่ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ เมื่อวันที่ 24 ส.ค.57 เพราะในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้มีการเขียนข้อยกเว้นเรื่องการไม่ให้นับอายุการเป็นนายกฯก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 เอาไว้

ถ้าว่ากันตามนี้ พล.อ.ประยุทธ์จะเป็นนายกฯเกินวันที่ 23 ส.ค.65 นี้ไม่ได้

2. นับจากช่วงการเป็นนายกฯของ พล.อ.ประยุทธ์นับแต่รัฐธรรมนูญปี 60 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เม.ย.60 เพราะรัฐธรรมนูญต้องนับตั้งแต่เริ่มประกาศใช้

หลักทั่วไปกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังอยู่แล้ว เพราะหากจะใช้ย้อนหลังจะต้องมีการเขียนไว้ในบทเฉพาะกาล เมื่อไม่ได้เขียนเอาไว้เท่ากับช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯก่อนวันที่ 6 เม.ย.60 จะนำมานับรวมไม่ได้

อ้างอิง thairath/www.bbc.com