พื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด หากมีความจำเป็น ต้องเดินทางข้ามจังหวัด พื้นที่ควบคุมสีแดงเข้ม ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างและต้องปฎิบัติตามมาตรการอย่างไร?
ศบค. เพิ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) จาก 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด (กทม. ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครปฐม นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี ปัตตานี อยุธยา ยะลา สงขลา สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) ล่าสุดที่ประชุมวันนี้ มีมติขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม จากเดิม 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง และอาจจะขยายล็อกดาวน์ต่อเนื่องสูงสุดอีก 1 เดือน นับจากครบกำหนดระยะแรกในวันที่ 2 สิงหาคม นี้ ก่อนจะประเมินสถานการณ์กำหนดมาตรการอีกครั้งวันที่ 18 สิงหาคมนี้
ขอประชาชนงดออกนอกเคหสถาน หรือที่พำนัก หากไม่มีเหตุจำเป็น ยกเว้นเพื่อจัดหาอาหาร ยาหรือเวชภัณฑ์ พบแพทย์ และรับวัคซีน เพื่อลดการเดินทางให้มากที่สุด เริ่มมีผลบังคับใช้ (20 ก.ค. 64)
หากจำเป็นต้องเดินทางเข้า – ออก พื้นที่สีแดงเข้ม จะต้องแสดงเอกสาร/ หลักฐาน แก่ฝ่ายความมั่นคง ณ ด่านตรวจ ควบคุมทั้งขาเข้าและขาออก รอบนอกพื้นที่ จว. สีแดงเข้ม
1.เอกสารรับรองที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการเขต แต่! ถ้าไม่มีเอกสารข้อ 1
2.ให้ลงทะเบียนการเดินทางข้ามพื้นที่ที่เว็บไซต์ “หยุดเชื้อเพื่อชาติ” https://covid-19.in.th เพื่อนำ QR Code แสดงแก่เจ้าหน้าที่
3.ลงทะเบียนแอปฯ “ไทยชนะ” ที่ด่านตรวจ
ข้อมูลสำคัญที่ต้องกรอกคือ
1.ชื่อ-นามสกุล
2.เลขบัตรประชาชน
3.จังหวัด อำเภอ เขต ณ จังหวัดต้นทาง
4.จังหวัด อำเภอ เขต ณ จังหวัดปลายทาง
5.เวลาการออกเดินทาง
6.เวลาที่คาดว่าจะกลับ
อ้างอิง ทนายคู่ใจ