วันพุธ, 26 มีนาคม 2568

ที่มาที่ไป สุดยอดตำนาน ขี้เหล้าหลวงแห่งล้านนา

ขี้เหล้าหลวงแห่งล้านนา

“ขี้เหล้าหลวงแห่งล้านนา ยืนยงคงสถิติเอาไว้อย่างยาวนาน กับตำแหน่งยอดนักดื่มแห่งประเทศไทย และเอเชีย”
.
เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานจากทาง เว็บไซต์ Expensivity ถึงดัชนี “เบียร์โลก ประจำปี 2021 หรือ World Beer Index 2021” (ซึ่งทางเว็บไซต์จะทำการวิจัยข้อมูลการบริโภคเบียร์จากทั่วโลก)
.
โดยระบุว่าในปีนี้ 2564 ประเทศไทยได้คว้าตำแหน่ง “สุดยอดนักดื่มประจำเอเชียไปครอง” – คนไทยดื่มเบียร์คนละ 142 ขวด/คน/ปี ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 130 ขวด/คน/ปี และ จีน 127 ขวด/คน/ปี
.
ทั้งนี้ชาวไทยยังสูญเงินไปกับการดื่มเบียร์มากถึงคนละ 686 ดอลลาร์ต่อปี หรือราวๆ 21,093 บาทต่อปีอีกด้วยครับ
.
.
ซึ่งเมื่อเจาะลึกลงไปในสถิติภายในประเทศพบว่า พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีตัวเลขนักดื่มเยอะที่สุดในประเทศไทย
.
โดย 5 อันดับแรกมีดังนี้
.
1. จังหวัดเชียงราย (ร้อยละ 45.3)
2. จังหวัดลำพูน (ร้อยละ 44.1)
3. จังหวัดพะเยา (ร้อยละ 44.0)
4. จังหวัดน่าน (ร้อยละ 42.4)
5. จังหวัดสุรินทร์ (ร้อยละ 40.6)
.
*สัดส่วนของผู้ดื่มอย่างสม่ำเสมอต่อจำนวนประชากร
.
.
และเมื่อลองค้นคว้าเพิ่มเติม พบว่า “นิสัยรักการดื่มของชาวภาคเหนือ และชาวไทย ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้น” แต่ต้องบอกว่า “เป็นตำนานยาวมาตั้งแต่จำความได้เลย”
.
ยกตัวอย่างเช่นในประวัติศาตร์ของชาวเหนือ ไม่ว่าเราจะลองย้อนกลับไปที่ตำราเล่มไหน ตำนานจากพื้นที่ใด “เครื่องดื่มมึนเมา สุรา และเหล้า” คือของที่อยู่คู่กับวิถีชีวิต โดยเฉพาะในพิธีกรรมสำคัญอย่าง “เลี้ยงผี”
.
ซึ่งมีตั้งแต่เหล้าต้ม น้ำขาว เหล้ากลั่น เหล้าตอง ที่ปรุงเองภายในครัวเรือนของระบบไพร่ ประชาชนคนรากหญ้า
.
และการดื่มกินเพื่อเลี้ยงฉลองของเหล่าผู้ดี ขุนนาง ข้าราชการ อภิเษกกษัตริย์ ก็ล้วนมีการเลี้ยงฉลองกันด้วยเหล้าและอาหารทั้งสิ้น
.
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.bltbangkok.com/news/33715/…

https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_6134914