งานศิลปะในทุ่งนาเชียงราย
ทุ่งนาไทยกลายเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของงานไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2566 ที่ถูกสื่อดังทั่วโลกแห่นำเสนอ โดยเป็นงานศิลปะในทุ่งนา ที่ใช้ข้าวหลากสีปลูกเป็นลวดลายรูปแมว ภายใต้แนวคิด “ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”
ผลงานชิ้นนี้สร้างสรรค์โดยนายธันย์พงศ์ ใจคำ ผู้บริหารโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในอยุธยา ที่แบ่งเวลามาทำนา-ปลูกข้าวหลากสี ร่วมกับศิลปิน เพื่อสร้างผลงานร่วมมหกรรมศิลปะฯ โดยในส่วนของนาข้าวจะเปิดให้เข้าชมในวันที่ 30 ธ.ค.เป็นต้นไป
นายธันย์พงศ์ เปิดเผยว่า ภูมิลำเนาเดิมตนอยู่บ้านซอนซุงและครอบครัวก็มีอาชีพเกษตรกรรมมาตลอด จึงมีความผูกพันกับท้องนา กระทั่งทราบว่าที่ญี่ปุ่นมีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนนาข้าวหรือ Tanbo Art โดยใช้พันธุ์ข้าวหลากสีและมีการจัดเทศบาลทุกปี มีนักท่องเทียวไปกันปีละหลายแสนคน ขณะที่ประเทศไทยเรามนาข้าวกว้างขวางแต่ข้าวและต้นข้าวไม่มีหลากหลายหรืออย่างมากไม่เกิน 3 สีเท่านั้น
ต่อมาตนทราบว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวเจ้า โดยนำข้าวจ้าวหอมนิลกลายใบขาวผสมกับข้าวก่ำหอมนิล จนได้ข้าวหลากสี สายพันธุ์ RB01, RB02, RB03, RB04, และ RB05 รวมทั้งเปิดรับสมัครเกษตรกรทำ Tanbo Art จึงรีบสมัครโดยทันที
เมื่อได้ต้นกล้าเตรียมปลูกแล้ว นายธันย์พงศ์ ก็อยากทำให้สวยงาม จึงเดินทางไปขอคำปรึกษาจากสมาคมขัวศิลปะ จ.เชียงราย จากนั้นทางศิลปินได้ไปดูที่นาและเสนอให้ออกแบบรูปแมวตาโต ภาพแมวนอนหลับ และแมวนอนกอดปลา ภายใต้แนวคิด “ในน้ำมีปลา ในนามีแมว”
ผลงานชิ้นนี้ได้รับความสนใจจากสื่อต่างชาติเป็นอย่างมาก โดยสื่อดังหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานซีเอ็นเอ็น บีบีซี รอยเตอร์ส ไชน่าเดลี่ ฯลฯ ได้พากันมาสัมภาษณ์และนำเสนอ จนอาจกล่าวได้ว่า ผลงานทุ่งนา “ในน้ำมีปลา ในนามีแมว” ได้กลายเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของงานไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย ไปแล้ว
ผลงานศิลปะบนนาข้าวของไทยถือเป็นสิ่งใหม่และแปลกตาสำหรับชาวต่างชาติ จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากสื่อต่างชาติ การที่สื่อดังระดับโลกต่างพากันมานำเสนอผลงานชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่างานศิลปะของไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และอาจช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยในจังหวัดเชียงรายได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ผลงานชิ้นนี้ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันกับท้องนามายาวนาน