ถวายทานต้นเกี๊ยะหลวง วัดม่วงชุม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นประเพณีทานต้นเกี๊ยะหลวง ที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณของชาวไตหรือไทยใหญ่ หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “เงี้ยว” ที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงรายเมื่อประมาณ 60-80 ปีก่อน โดยกระจายอยู่ตามพื้นที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นอำเภอเมือง อำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอพาน เป็นต้น
ชาวไตในจังหวัดเชียงราย มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้จากศิลปะตามวัดต่างๆของชาวไทยใหญ่ ที่สื่อให้เห็นถึงเรื่องราวของพระพุทธศาสนา เมื่อถึงวันออกพรรษาของทุกๆ ปี ชาวไตจะจัดงานที่ยิ่งใหญ่ คืองาน “ตานต้นเกี๊ยะหลวง”
งานประเพณี “ตานต้นเกี๊ยะหลวง” มาจากตำนานพระเข้าเลียบโลกของชาวไต ได้กล่าวไว้ ” เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเมื่อครบกำหนด 3 เดือน แล้วจึงได้เสด็จลงมาโปรดมนุษย์และสัตว์บนพิภพ ในคืนที่เสด็จลงมานั้นคือวันออกพรรษาได้บังเกิดความอัศจรรย์และเป็นพุทธนิมิตที่ดีงาม บรรดาสิงสาราสัตว์ต่างออกมาจากป่าหิมพานต์ กรีดกรายร่ายรำฟ้อนเป็นพุทธบูชา เช่น นกกิงกล่า นกกินรี นกหั่งหลี ส่วนบรรดา บรรพบุรุษของพี่น้องชาวไทยใหญ่ต่างพากันเก็บดอกไม้ และจุดเกี๊ยะถวายเป็นพุทธบูชา เรียบเรียงจาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=512603
งานประเพณี ตานต้นเกี๊ยะหลวง ในภาพนี้จัดขึ้นที่วัดม่วงชุม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เสียดายผู้บันทึกภาพไปไม่ทันตอนพิธีงานเปิด จึงไม่ภาพในส่วนนั้นมาให้ชม แต่ก็ยังได้เก็บภาพต้นเกี๊ยะหลวง มาให้ทุกท่านได้ชมภาพอยู่ครับผม