ศิลปวัฒนธรรม “วันดีวันเสียล้านนา ตอน วันเสียประจำเดือน” เป็นความเชื่อของชาวล้านนาเกี่ยวกับฤกษ์ยาม วันนี้ขอเสนอเรื่อง มื้อจั๋นวันดี ซึ่งใช้กับงานพิธีมงคล แต่เมื่อเราทราบวันดีไปแล้วก็ต้องรู้วันเสียด้วย หลักการไล่วันเสียประจำแต่ละเดือนอย่างนี้
วันเสียประจำเดือนของล้านนา
เดือน | เดือน | เดือน | เดือน | วันเสีย |
เดือน เกี๋ยง (1) | ห้า (5) | เก้า (9) | ระวิ-จั๋นตัง | เสียอาทิตย์กับจันทร์ |
เดือน ยี่ (2) | หก (6) | สิบ (10) | อังการัง | เสียอังคารวันเดียว |
เดือน สาม (3) | เจ็ด (7) | สิบเอ็ด (11) | โสริกุรุ | เสียเสาร์กับพฤหัสบดี |
เดือน สี่ (4) | แปด (8) | สิบสอง (12) | สุโขพุทธา | เสียศุกร์กับพุธ |
เมื่อทราบวันดีแล้ว ก็ควรจะทราบยามหรือเวลาอันเป็นมงคลของแต่ละวันด้วย ดังนี้
วันอาทิตย์
ยามเช้า ไม่ดี ยามสายและยามใกล้เที่ยง ดีมาก ยามบ่ายและยามเย็น ไม่ดี ยามใกล้ค่ำ ดีมาก
วันจันทร์
ยามเช้า ยามสาย และยามใกล้ที่ยง ไม่ดี ยามเที่ยงและยามบ่าย ดีมาก ยามเย็น ยามใกล้ค่ำ และยามค่ำ ไม่ดี
วันอังคาร
ยามเช้าและยามสาย ดีมาก ยามใกล้เที่ยง ยามเที่ยง และยามบ่าย ไม่ดี ยาม เย็นและยามใกล้ค่ำ ดีมาก ยามค่ำ ไม่ดี
วันพุธ
ยามเช้า ยามสาย และยามใกล้เที่ยง ไม่ดี ยามเที่ยงและยามบ่าย ดีมาก ยามบ่าย- เย็น ยามใกล้ค่ำ และยามค่ำ ไม่ดี
วันพฤหัสบดี
ยามเช้าและยามสาย ไม่ดี ยามใกล้เที่ยงและยามเที่ยง ดีมาก ยามบ่าย-เย็นและใกล้ค่ำ ไม่ดี ยามค่ำ ดีมาก
วันศุกร์
ยามเช้าไม่ดี ยามสายดีมาก ยามใกล้เที่ยงและยามเที่ยงไม่ดี ยามบ่ายและยามเย็นไม่ดี ยามใกล้ค่ำและยามค่ำดีมาก
วันเสาร์
ยามเช้าและยามสาย ดีมาก ยามใกล้เที่ยงและยามเที่ยง ไม่ดี ยามบ่าย-เย็น ดีมากยามใกล้ค่ำและยามค่ำ ไม่ดี