วันอังคาร, 14 มกราคม 2568

ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมตักบาตรเป็งปุ๊ด เที่ยงคืนวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3

ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมตักบาตรเป็งปุ๊ด เที่ยงคืนวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3

จังหวัดเชียงราย เทศบาลนครเชียงราย และวัดมิ่งเมือง จึงได้ร่วมสืบทอดประเพณีตักบาตรวันเป็งปุ๊ด ซึ่งตรงกับพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 โดยในวันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 15.09 น. นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานในพิธีประกอบพิธีดำน้ำอัญเชิญพระอุปคุตจากลำน้ำกก ขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบก เคลื่อนขบวนอัญเชิญไปวัดมิ่งเมือง

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 23.30 น. ร่วมพิธีตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อให้คงอยู่คู่วัฒนธรรมล้านนาของชาวเชียงรายสืบไป

เชื่อกันตามประวัติกล่าวว่าท่านเป็นบุตรของเศรษฐีของเมืองมถุรา ริมฝั่งแม่น้ำยมนา เกิดหลังพระพุทธองค์ปรินิพานแล้ว ๒๐๐ ปีแต่เนื่องจากบิดาได้เคยสัญญาก่อนที่จะมีบุตรต่อพระสาณวารี ว่าหากมีบุตรชายจะให้ออกบวช จนกระทั้งได้บุตรชาย ( พระอุปคุต ) เมื่อถึงอายุบวชท่านก็ได้ออกบวชหลังจากออกบวชในบวรพระพุทธศาสนา

ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมตักบาตรเป็งปุ๊ด เที่ยงคืนวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3

วันเป็งปุ๊ด” ความเป็นมาสืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า พระมหาอุปคุตซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งที่มีมหาอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลโชคลาภวาสนาได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติที่ใต้สะดือทะเลแล้วแปลงกายเป็นสามเณรน้อยออกมาโปรดสัตว์โลกเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระมหาอุปคุตแล้วบุคคลนั้นถือว่าเป็นผู้มีบุญ จะมีโชคลาภวาสนาร่ำรวยเป็นเศรษฐีและบังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

ซึ่งประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืนวันเป็งปุ๊ด ถือเป็นประเพณีล้านนาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เพราะว่าแต่ละปีอาจมีวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ เพียงแค่ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้งเท่านั้น

ที่มา https://www.springnews.co.th/news/264768

คาถาบูชา พระอุปคุต

อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ

หรือ (แบบย่อ) อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ

(เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)

คำบูชาพระมหาอุปคุต นโม ๓ จบ

พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโร สัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภัง พุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ

อุปคุตตะ จะมหาเถโร สัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะ สัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ ฯ

(นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือ พระธาตุอุปคุต)

คำบูชาขอลาภพระอุปคุต

มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ

เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ