มหาดไทยไฟเขียวท้องถิ่น ใช้จ่ายงบประมาณในการบริหารจัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่นค่าใช้จ่ายการจัดหาสถานที่ฉีดวัคซีนการบริการรับส่งประชาชนไปฉีดวัคซีน แต่ยังไม่สามารถจัดซื้อวัคซีนเองได้ แต่ถ้าหาก อปท.จะจัดซื้อต้องให้มหาดไทยอนุญาติการใช้เงินก่อน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากท้องถิ่นมีเงินสำรองจ่ายไม่เพียงพอก็สามารถโอนงบประมาณรายการที่เหลือจ่ายหรือไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายไปไม่ได้ หรือกรณีงบประมาณในการดำเนินการมีไม่เพียงพอก็อาจพิจารณาใช้จ่ายจากเงินสะสม โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยด่วนที่สุด
หนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2564
เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณในการบริหารจัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด
อ้างถึง หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๑๘๐๘.๒/3 ๑๖๐๘ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓
ด้วยปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ได้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่หลายจังหวัด
ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เป็นจำนวนมาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมหลายแห่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้รับผิตชอบในการจัดเตรียมสถานที่เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการฉีดวัคซึนให้กับประชาชน และได้สอบถามเกี่ยวกับแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวกระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐มาตรา ๔๕ (๘) ประกอบกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ (๑๔) พระราชบัญญัติทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๕๐ (๔) มาตรา ๕๓ (๑)มาตรา ๕๖ (๑) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา ๖๗ (๓) และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (๑๙) มาตรา ๑๗ (๑๙) บัญญัติให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกัน ควบคุมและระงับโรค ดังนั้น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างถูกต้อง จึงชักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการบริหารจัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ให้กับประชาชน กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนี้
๑. ค่าใช้จ่ายในการจัดสถานที่เพื่อฉีดวัคซีนให้กับประชาชน
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกคำาใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๑ กำหนดค่ใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอย (๑๓) ค่าใช้จ่ายในการใช้
สถานที่อื่นชั่วคราวขององค์กรปกครองส่วนห้องถิ่น และ (๑๔) คำใช้จ่ายในการประดับ ตกแต่งอาคารสถานที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงสามารถจัดสถานที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการฉีดวัคชื่นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเบิกคำใช้จ่ายตามระเบียบดังกล่าวได้
๒. คำใช้จ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน วัสดุ อุปกรณ์ และการจัดรถรับส่งประชาชน
ไปฉีดวัคซีนในสถานที่ที่ทางราชการกำหนด
๒.๑ ตามระเบียบกระทรวงมหาไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๔ กำหนดบทนิยาม “เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น” หมายความรวมถึงผู้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสั่งให้ไปปฏิบัติราชการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้กำหนตให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือบุคคลภายนอกปฏิบัติหน้าที่ในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้แก่ เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พักค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ ให้กับเจ้าหน้าที่ตังกล่าวได้ ทั้งนี้กรณีเบิกค่าอาหารแล้วไมให้เบิกค่าเบี้ยเลี้ยง และการเบิกค่าใช้จ่ายดังกล่าวต้องไม่ซ้ำช้อนกับหน่วยงานอื่น
๒.๒ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๑๙ กำหนตให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเงินสำรองจ่ายในงบกลางเพื่อกรณีฉุกเฉินที่มีเหตุสาธารณภัยเกิดขึ้น หรือกรณีการป้องกันและยับยั้งก่อนเกิดสาธารณภัย หรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย หรือกรณีฉุกเฉินเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นส่วนรวมได้ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๖ กำหนดให้ ค่ใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในเรื่องใดที่กระทรวงมหาดไทยยังไมได้กำหนดไว้ให้ใช้ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการของกระทรวงการคลังในเรื่องนั้นไปก่อนโดยอนุโลม ประกอบกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๘ กำหนดว่า เมื่อเป็นที่คาดหมายว่าจะเกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินขึ้นในเวลาอันใกล้และจำเป็นต้องรีบดำเนินการโดยฉับพลัน ส่วนราชการอาจใช้จ่ายเงินทดรองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินนั้นได้ (๒) ในกรณีจังหวัดอื่น ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกำหนโตยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง และประกาศกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินทตรองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ข้อ ๕ กำหนดให้เบิกจ่ายเงินทตรองราชการซี่งใช้ในการดำเนินการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (๑) คำแรงงาน ค่าจ้างเหมา (๒) คำวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติ (๔) ค่าจัดหาพลังงานเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องมือเครื่องจักรกล และยานพาหนะที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานตามความจำเป็น และ (๗) ค่าอาหารจัดเลี้ยงเจ้าหน้าที่
ของทางราชการและผู้มาให้ความช่วยเหลือให้เบิกจ่ายได้ วันละไม่เกิน ๓ มื้อ มื้อละไม่เกิน ๕q บาทต่อคนทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของทางราชการและผู้มาให้ความช่วยเหลือต้องไม่ได้รับเงินอื่นใดจากทางราชการอีก ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงสามารถช้จ่ายงบประมาณจากงบกลาง ประเภทเงินสำรองจ่าย เพื่อป้องกันและยับยั้งก่อนเกิดสาธารณภัย หรือคาดว่จะเกิดสาธารณภัย โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ จัดรถรับส่งประชาชนไปฉีดวัคซีนในสถานที่ที่ทางราชการกำหนด และจัดเลี้ยงอาหารเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการฉีดวัคซีนได้ส่วนการจัดรถรับส่งประชาชนให้ใช้รถยนต์ส่วนกลาง หากไม่มีรถยนต์ส่วนกลางหรือมีแต่ไม่เพียงพอให้จ้างเหมาบริการรถรับส่งได้
๒.๓ การดำเนินการตามข้อ ๒.๒ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเงินสำรองจ่ายไม่เพียงพอ
ก็สามารถโอนงบประมาณรายการที่เหลือจ่ายหรือไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายไปเมได้ หรือกรณีงบประมาณในการดำเนินการมีไม่เพียงพอก็อาจพิจารณาใช้จ่ายจากเงินสะสม โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยด่วนที่สุด ที่ มท ๑๘๐๘.๒/ว ๑๖๐๘ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕’๖๓ หรืออาจขอทำความตกลงกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อนำเงินทุนสำรองเงินสะสมมาใช้ได้
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และแจ้งให้นายอำเภอ ทุกอำเภอทราบ พร้อมทั้งแจ้งให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
(นายฉัตรชัย พรหมเลิศ)
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น
กลุ่มงานการจัดสรรเงินอุดหนุนและพัฒนาระงบประมาณ
โทร./โทรสาร ๐ ๒๒๔๑ ๙๐๔๙
ที่มา หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น